กินเหล้าทำให้ตาเหลือง?

Published on May 21, 2024

     กินเหล้าทำให้ตาเหลือง? ตับแข็ง​เป็น​ภาวะที่ตับเกิดการอักเสบ​เรื้อรัง​ มีหลายสาเหตุ​

แต่​สาเหตุ​หนึ่ง​คือการดื่มเหล้าเรื้อรัง​ เมื่อมีอาการเริ่มแรกผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว แต่สัญญาณหนึ่งที่สำคัญคืออาการตาเหลือง ซึ่งเกิดจากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงเกินไปเป็นผลมาจากการทำงานของตับที่เสื่อมลง

 

 ขั้นตอนการตรวจหาตับแข็ง:

1. ตรวจตา:  เปิดเปลือกตาของผู้ป่วยเพื่อตรวจดูว่ามีอาการตาเหลืองหรือไม่ การตรวจสอบอาการตาเหลืองทำได้ง่ายๆโดยการเปิดเปลือกตาขึ้นแล้วมองดูสีของตาขาว
ถ้าพบว่าตาขาวมีสีเหลือง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบหรือเริ่มมีภาวะตับแข็ง


2. สอบถามพฤติกรรมการดื่มเหล้า: ถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการดื่มเหล้า บ่อยแค่ไหน ปริมาณมากแค่ไหน


3. เจาะเลือด: ถ้ามีสัญญาณของตับแข็ง หมอจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับ

 

กรณีศึกษา:ผู้ป่วยคนหนึ่งมีอาการตาเหลือง แต่ไม่ได้มาหาหมอเพราะเรื่องนี้ เมื่อหมอตรวจพบตาเหลือง จึงถามถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้า ผู้ป่วยยอมรับว่าดื่มเป็นประจำ 
และปริมาณมาก หมอจึงเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับ ผลพบว่าตับเริ่มมีปัญหา ซึ่งหมายถึงภาวะตับแข็ง หมอแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกดื่มเหล้า และให้บอกเพื่อนๆ ในวงเดียวกันมาตรวจด้วย

 

การเลิกดื่มเหล้าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการตับแข็ง หากไม่เลิก อาการจะทรุดลงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรับรู้ถึงอาการเริ่มแรกและการตรวจร่างกายเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษาอาการตับแข็งตั้งแต่เนิ่นๆ.

บทความสุขภาพอื่นๆ

อันตรายจากการแคะหู

อันตรายจากการแคะหู

ขี้หู หรือ แว็กซ์ (Earwax) เป็นสารคัดหลั่งที่พบในรูหู

อ่านเพิ่มเติม
ค่าน้ำตาล 101 ทำไมหมอบ่น?

ค่าน้ำตาล 101 ทำไมหมอบ่น?

ระยะก่อนเบาหวานเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดจะต้องสูงกว่า 126 mg/dL

อ่านเพิ่มเติม
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน มีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับร่างกายของฝ่ายหญิงค่อนข้างมาก.

อ่านเพิ่มเติม
ถ้าไม่ได้ถ่ายทุกวันถือว่าเราท้องผูกไหม อันตรายหรือเปล่า?

ถ้าไม่ได้ถ่ายทุกวันถือว่าเราท้องผูกไหม อันตรายหรือเปล่า?

ถ้าเราไม่ได้ถ่ายทุกวันไม่จำเป็นว่าเราจะท้องผูกเสมอไปการท้องผูกมักจะมีลักษณะเป็นการถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

อ่านเพิ่มเติม