การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

Published on May 02, 2024

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน
   หลายท่านอาจเคยได้ยินมาว่า การมีเพศสัมพันธ์ตอนมีประจำเดือน จะช่วยลดความเครียดและอาการปวดได้ซึ่งจริง ๆ แล้ว การมีเพศสัมพันธ์อาจช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความเครียด ลดอาการปวดที่เกิดขึ้นในระหว่างการมีประจำเดือนได้จริงแต่ ถึงอย่างไรก็มี ข้อเสียที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับร่างกายของฝ่ายหญิงค่อนข้างมากเช่นกัน 

1.ร่างกายอ่อนแอขณะมีประจำเดือน: ระหว่างที่มีประจำเดือนร่างกายของผู้หญิงมักมีระดับฮอร์โมนที่ไม่เสถียรหรือแปรปรวนทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และเป็นที่มาของสาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วยบ่อยได้

2.ปากมดลูกเปิดขณะมีประจำเดือน: โดยปกติแล้วเวลาที่มีประจําเดือนปากมดลูกจะเปิดเนื่องจากเลือดต้องไหลผ่านปากมดลูกลงมาที่ช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้อาจทำให้เปิดปากมดลูกมากขึ้น ซึ่งทำให้เชื้อโรคมีโอกาสเข้าไปในปากมดลูกถึงโพรงมดลูกได้ง่าย

3.เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมา: ในระหว่างการมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาเป็นประจําเดือนจะเกาะอยู่กับผนังมดลูก เมื่อผนังมดลูกหลุดออกมาการมีเพศสัมพันธ์จะทําให้เชื้อโรคผ่านเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้นและจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศ หรือ อาจมีการอักเสบที่เยื่อบุโพรงมดลูก ในกรณีที่เกิดการอักเสบเชื้อมีการลุกลามไปจนถึงติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

4.ธาตุเหล็กในเลือด: เลือดที่ไหลออกมาในระหว่างการมีประจำเดือนจะมีธาตุเหล็กเยอะ หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือนอาจกระตุ้นให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคหนองใน ธาตุเหล็กจะทําให้เชื้อหนองในเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรงมากขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนแบบที่ไม่แสดงอาการอย่าง โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคเอดส์หรือเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อดังกล่าวร่วมมาด้วย

  ดังนั้นทางที่ดี ควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้มาตรการป้องกันทางเพศแบบเต็มรูปแบบ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย และการเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด เพื่อรักษาสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ ที่มาสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะยาว.

อ้างอิง : https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/gonorrhea
             https://www.sikarin.com/health/

บทความสุขภาพอื่นๆ

อันตรายจากการแคะหู

อันตรายจากการแคะหู

ขี้หู หรือ แว็กซ์ (Earwax) เป็นสารคัดหลั่งที่พบในรูหู

อ่านเพิ่มเติม
ค่าน้ำตาล 101 ทำไมหมอบ่น?

ค่าน้ำตาล 101 ทำไมหมอบ่น?

ระยะก่อนเบาหวานเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดจะต้องสูงกว่า 126 mg/dL

อ่านเพิ่มเติม
ถ้าไม่ได้ถ่ายทุกวันถือว่าเราท้องผูกไหม อันตรายหรือเปล่า?

ถ้าไม่ได้ถ่ายทุกวันถือว่าเราท้องผูกไหม อันตรายหรือเปล่า?

ถ้าเราไม่ได้ถ่ายทุกวันไม่จำเป็นว่าเราจะท้องผูกเสมอไปการท้องผูกมักจะมีลักษณะเป็นการถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

อ่านเพิ่มเติม
ร้อนตับแตกจนตายได้ไหม?

ร้อนตับแตกจนตายได้ไหม?

heat stroke อุณหภูมิร่างกายที่สูงมาก (40 องศาเซลเซียสขึ้นไป)

อ่านเพิ่มเติม